ต้องยอมรับว่าเหตุโรงงานพลุระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง และทุกครั้งก็มักจะมีการพูดถึงเรื่องของตั้งโรงงาน และการขออนุญาตประกอบกิจการ แม้ว่าโรงงานที่เกิดเหตุล่าสุด จะมีการขออนุญาตถูกต้อง แต่ก็ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐาน และมาตรการป้องกันว่าเป็นไปตามระเบียบหรือไม่
โดยปรากฎภาพสภาพของโรงงานพลุ ในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกถ่ายไว้เมื่อปลายปี 2565 หลังเกิดการระเบิดในครั้งแรก ซึ่งในตอนนั้นมีผู้เสียชีวิต 1 คน และคนงานบาดเจ็บอีก 3 คนคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
เปิดภาพโรงงานพลุสุพรรณบุรี ก่อนระเบิดจนไม่เหลือซาก!
เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต เหตุโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี
เปิดข้อมูลโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี พบปี 65 เพิ่งเกิดเหตุซ้ำจุดเดียวกัน
ทั้งนี้มีข้อมูลว่าหลังเกิดระเบิดในครั้งนั้น โรงงานดังกล่าว มีการซ่อมแซมและกลับมาเปิดกิจการตามเดิม โดยตัวอาคารต่างๆ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง มีเพียงการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้กลับมาใช้งานได้
ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ด้านหน้ามีรั้วประตูเข้า-ออก ส่วนด้านข้างและด้านหลังเป็นทุ่งนา จุดที่ตั้งโรงงานแห่งนี้อยู่ห่างจากชุมชนประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในโรงงานจะเห็นว่ามีอาคารที่ก่อสร้างลักษณะเหมือนโกดังขนาใหญ่อยู่ 2 หลังด้วยกัน
หลังแรกเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นอาคารประกอบพลุ ซึ่งคาดว่าเป็นจุดที่เกิดการระเบิดเมื่อวานนี้ ส่วนอาคารหลังที่สอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอาคารประกอบพลุ เป็นที่ผสมดิน อาคารตรงนี้เป็นจุดที่เคยเกิดการระเบิดเมื่อปี 2565 นอกจากนี้ยังมีอาคารเล็กๆ อีก 2 หลัง ที่อยู่ด้านในโรงงาน เป็นที่เก็บของ และยังมีบ่อน้ำอยู่ตรงกลางโรงงานด้วย เมื่อสังเกตจากภาพจะเห็นว่า อาคารขนาดใหญ่ทั้งสองอาคาร มีลักษณะก่อสร้างขึ้นง่ายๆ
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบโรงงานยื่นขออนุญาตถูกต้อง โดยขอใบอนุญาตทำหรือค้า ซึ่งดอกไม้เพลิง ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 จากกรมการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2566 หมดอายุวันที่ 23 ส.ค. 2567
โดยมีชื่อของนางแสงเดือน ปานจันทร์ เป็นผู้ขออนุญาต ซึ่งเป็นคนละคนกันกับคนที่ขออนุญาตประกอบกิจการเมื่อปี 2565 และที่มุมซ้ายของใบอนุญาต มีข้อความระบุชัดเจนว่า สถานที่เก็บรักษาดอกไม้เพลิง หมู่ 3 ตำบลศาลาขาว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขการเก็บรักษาดอกไม้เพลิง ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหมายความว่า การต่อใบอนุญาตเป็นแบบปีต่อปี และการต่อใบอนุญาตแต่ละครั้ง ฝ่ายปกครองจะเข้าไปตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ความปลอดภัยต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับอาคาร สถานที่ หรือ บริเวณที่ใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิง ระบุเอาไว้หลายข้อด้วยกัน หลักๆ กำหนดให้ตัวอาคารจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน, เป็นอาคารชั้นเดียว ไม่มีห้องใต้ดิน หรือ ชั้นลอย, ติดตั้งสายล่อฟ้า, สร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ มีความมั่นคง แข็งแรง ,พื้นอาตารไม่เกิดประกายไฟ ,หลังคาต้องสามารถระบายแรงอัดจากการระเบิด และ ระบายอาการที่เหมาะสม เป็นต้น
ขณะที่ พลเรือตรีธนิตพงศ์ สิริเศวตศักดิ์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่ากองควบคุมโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (อท.ศอพท.) ตรวจสอบข้อมูลพบว่าโรงงานที่เกิดเหตุ ยังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีซึ่งยุทธภัณฑ์ โพแทสเซียม คลอไรด์ (Potassium Chloride) จากกระทรวงกลาโหม ตามพ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 จำนวน 3,000 กิโลกรัม รายละเอียดตามใบอนุญาตเลขที่ 660504621 ลงวันที่ 24 ก.ค.2566 หมดอายุ 23 ก.ค.2567 เพื่อใช้ในการทำดอกไม้เพลิง และมีสถานที่เก็บ ที่คลังเก็บในหมู่ที่ 3 ตำบลศาลาขาว แต่การผลิตแต่ละครั้ง เก็บได้เท่าไหร่ ฝ่ายปกครองไม่ได้มีอำนาจไปตรวจสอบ ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงมหาดไทยมีแนวทางหารือเรื่องข้อกฎหมายให้รัดกุมมากขึ้น
เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต เหตุโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี
ศาลสั่ง “ศักดิ์สยาม” พ้นรมต.เซ่นปมหุ้น หจก.บุรีเจริญฯ
“ตรุษจีน 2567” วันจ่าย-วันไหว้-วันเที่ยว ตรงกับวันไหน ทำไมแต่ละปีไม่ตรงกัน