เสาไฟเจ้าปัญหาดังกล่าว ติดตั้งในพื้นที่บ้านเนินผาสุก หมู่ 6 ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว พบว่าเสาไฟดังกล่าวเป็นระบบโซล่าเซลล์เมื่อทีมข่าวสำรวจเสาไฟในช่วงกลางคืนก็พบว่าเสาไฟบางต้นไม่ส่องสว่างแล้ว ทั้งที่เพิ่งติดตั้งได้เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น
สอบถามชาวบ้านบอกว่า เสาไฟโซล่าเซลล์เป็นโครงการของ อบจ.สระแก้ว เพิ่งมาติดตั้งได้ไม่นานตอนแรกที่มาติดใหม่ๆ แสงไฟก็สว่างดีแต่หลังจากใช้งานไปเพียง 2 เดือนเสาไฟโซล่าเซลล์ก็เริ่มติดๆ ดับๆก่อนที่บางดวงจะใช้งานไม่ได้เลย
หวั่นอันตราย! เสาไฟฟ้าโผล่กลางถนน ไร้ไฟส่องสว่าง
Digital Trends เผย 15 มือถือที่ดีที่สุดประจำปี 2023
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังตั้งข้อสังเกตเรื่องของความคุ้มทุน เพราะเสาไฟโซล่าเซลล์ที่นำมาติดตั้งนั้น มีราคาสูงต้นละ 69,000 บาทแต่กลับใช้งานได้ไม่นานก็เสียแล้ว ที่สำคัญชาวบ่านมองว่า ถ้าเทียบราคาของเสาไฟส่องสว่างแบบธรรมดา ราคาต้นหนึ่งไม่กี่พันบาทเมื่อเทียบกับเสาไฟโซล่าเซลล์ที่ 1 ต้นราคาเกือบ 7 หมื่น สามารถนำมาจัดซื้อเสาไฟธรรมดาได้หลายสิบต้น ก็น่าจะคุ้มกว่า
นอกจากนี้ ชาวบ้านหลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่เฉพาะเสาไฟบางต้นที่ใช้งานไม่ได้แล้ว ยังมีบางต้นที่ถูกนำไปติดตั้งไว้ในป่า ที่ไม่ค่อยมีคนสัญจรเข้าออก หรือ บางต้นติดตั้งเอียงเหมือนไม่แข็งแรง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย ว่าการจัดซื้อจัดจ้างเหมาะสมหรือไม่
เสาไฟฟ้าสาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโครงการของ อบจ.สระแก้ว ประจำปีงบประมาณ 2565 จัดซื้อจัดจ้างไปทั้งหมด 500 ชุด ชุดละ 69,000 บาท ที่นี่เราลองมาไล่ดูว่าใน 1 ชุด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
การจัดซื้อเสาไฟโซล่าเซลล์ 1 ชุด จะมีเสาไฟชุบกัลป์วาไนซ์ สูง 6 เมตร ดิจิทัลโคมไฟ LED 40 วัตต์ แผงโซล่าเซลล์ขนาด 130 วัตต์ และฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยในเอกสารระบุว่า ราคานี้รวมค่าติดตั้ง ค่าขนส่ง และประกันตัวสินค้า 2 ปี
ทีมข่าวได้พูดคุยกับ นายฐานิสร์ เทียนทอง นายกองค์การบริการส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนี้ เปิดเผยว่า เสาไฟทั้ง 500 ชุด เป็นการจัดซื้อจัดจ้างของคณะบริหารชุดเดิม ที่โยกงบประมาณมาจากโครงการสมาร์ทสคูลโซลูชั่น โรงเรียนสังกัด อบจ. 2 แห่ง
และในงบประมาณปี 2566 ผู้บริหาร อบจ.สระแก้ว ก็มีการเสนอโครงการแบบเดียวกันเข้ามาอีก โดยจะมีการจัดซื้อจัดจ้างมากถึง 870 ชุด งบประมาณอีกกว่า 60 ล้านบาท กระทั่งมีการทักท้วงจากสำนักงาน ปปช.สระแก้วว่า โครงการดังกล่าวมีราคาที่สูงเกินจริง และเสี่ยงต่อการทุจริต
ซึ่งเมื่อ นายฐานิสร์ เข้ามารับตำแหน่ง ก็ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งบประมาณจัดซื้อเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์กว่า 60 ล้านบาท ไปเป็นงบพัฒนาปรับปรุงและซ่อมแซม ถนนลาดยาง/คอนกรีตแทน เพื่อให้ประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่า
ส่วนเสาโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งไปแล้ว คงเข้าไปดำเนินการอะไรไม่ได้ หลังจากนี้ต้องรอดูว่าเกิดปัญหาอะไรหรือไม่ หากชำรุดเสียหาย ก็ต้องให้ทางบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาดูแล เพราะมีระยะประกันอีก 2 ปี แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าระยะเวลาดำเนินการเพิ่งแล้วเสร็จไม่นาน แต่ก็เกิดการชำรุดแล้ว และหลังจากครบอายุสัญญาก็อาจเป็นปัญหาให้กับ อบจ.ระยะยาวได้ ก็คงเป็นภาระที่จะต้องจัดหาประมาณในการซ่อมแซมเอง.
ความเห็นเอกฉันท์! นิด้าโพลเผยผล ขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำ
อุตุฯ ประกาศเตือนอากาศหนาว อุณหภูมิลดสูงสุด 8 องศา คำพูดจาก เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์